Duoderm Hydroactive Gel ดูโอเดิมเจล 30 กรัม สำหรับแผลกดทับ แผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้
฿285.00
- รายละเอียดเพิ่มเติม
- ข้อมูลเพิ่มเติม
- บทวิจารณ์ (0)
รายละเอียดเพิ่มเติม
- เจลรักษาแผลกดทับ แผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ ป้องกันและกำจัดคราบเนื้อตาย
- เจลใสปราศจากเชื้อ สำหรับทาแผลตื้น และไม่ติดเชื้อ
- เจลช่วยให้แผลชุ่มชื่น ไม่ติดแผล ซึ่งช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- เหมาะกับแผลกดทับ แผลที่ขา แผลเบาหวาน
วิธีใช้ : ทาบริเวณที่ต้องการ
ส่วนประกอบสำคัญ : สารอุ้มน้ำจากธรรมชาติ natural hydrocolloids (pectin, sodium carboxymethylcellulose)
การป้องกันและดูแลเพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัยที่มีปัญหานอนติดเตียง
1. การเปลี่ยนและจัดท่าของผู้ป่วย
โดยยึดเอาตามความสามารถในการขยับ เคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นที่ตั้งหากผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลยควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุกๆ 2 ชั่วโมง อาจจะเป็นถ้านอนหงายแล้วนอนตะแคงโดยอาจใช้หมอนข้างนิ่มๆมากั้นรวมถึงใช้หมอนนิ่มๆใบเล็กแทรกอยู่ตามระหว่างปุ่มกระดูกที่อาจกดทับกันจนเป็นแผลได้
หากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่สามารถนั่งบนรถเข็นควรจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุกๆ 1 ชั่วโมง ระหว่างอาบน้ำเช็ดตัวเปลี่ยนผ้าอ้อมควรหมั่นสังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง หากเริ่มแดง คล้ำ ดูอักเสบควรหมั่นพลิกตัวเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ
2. ใช้อุปกรณ์ช่วยเสริม
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมีภาวะโรคประจำตัวเยอะ ขาดสารอาหารรวมถึงมีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งกดทับ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เสริมได้ เช่น หมอนนุ่มๆลดแรงกดทับ เตียงลมที่มีคุณภาพ เจลรองตำแหน่งกดทับ เป็นต้น
3. การป้องกันภาวะผิวหนังที่แห้งหรืออับชื้นมากจนเกินไป
ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้แต่หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ควรจัดตารางการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ใช้อยู่ให้สะอาดเป็นประจำ รวมถึงอาจใช้ยา ครีมทาเคลือบผิวเพื่อลดอาการระคายเคืองหลังจากขับถ่าย เป็นจำพวกมอยเจอไรเซอร์ ทาผิวหลังอาบน้ำและทำความสะอาด รวมถึงทุกเวลาที่พบบ่อยผิวแห้ง
ควรสังเกตหากผู้สูงวัยมีอาการคันมากผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่นแผลเบาหวาน ผื่นแพ้ผ้าอ้อม แพ้เทปปิดผิวหนัง หากเกามากๆ ไปนานๆ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
4. การดูแลด้านโภชนาการให้ผู้สูงวัยได้รับอย่างครบถ้วน
มีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่รับอาหารผ่านทางสายยางรวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี หลีกเลี่ยง ไขมันอิ่มตัวและชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และการให้สารอาหารหรือวิตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ ในรายที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เสริมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละรายก็เป็นสิ่งจำเป็น หากภาวะโภชนาการดี ก็จะทำให้โอกาสการเกิดแผลน้อยลง แม้ว่าจะเป็นแผลก็ฟื้นตัวไวด้วย
5.หมั่นสอดส่องความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง
บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเช่นตำแหน่งที่มีการกดทับ ตำแหน่งที่มีการเสียดสีบ่อยๆ ปุ่มกระดูกที่พบมากและต้องให้ความสำคัญ เช่นบริเวณก้นกบ ตาตุ่ม ข้อศอก และด้านข้างของเข่า รวมถึงใบหู ด้านหลังศีรษะ บริเวณปีกจมูกถ้าผู้ป่วยได้รับการใส่สายให้อาหารทางสายจมูกมานานๆ
ซึ่งถ้าพบลักษณะสีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง ม่วง หรือดูมีลักษณะการอักเสบ เช่นกดเจ็บ หรือเปลี่ยนเป็นสีดำซึ่งบ่งบอกถึงมีการเนื้อตายที่รุนแรง ควรจะขอความช่วยเหลือและปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล แต่ถ้าหากพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะเพิ่มการดูแลการพลิกตัวให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดอุบัติการการเกิดแผลลงได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำหนัก | 0.1 kg |
---|
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์