Uncategorized

รู้จัก “โรคลัมปี สกิน” ระบาดในวัว คนกินเนื้อได้รับอันตรายหรือไม่?

รู้จัก “โรคลัมปี สกิน” โรคระบาดในวัว โรคลัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่ในโคกระบือ พบระบาดจากประเทศเพื่อนบ้าน มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค กระบือ ไม่เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน อัตราการป่วยมากกว่า 5% โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ก่อโรคตามอวัยวะที่มีเซลล์เยื่อบุ พบตุ่มเนื้อบนผิวหนังและเยื่อเมือกทั่วร่างกาย ซึ่งต่อมาจะตกสะเก็ดและเป็นแผลหลุม สัตว์อาจมีไข้และหายใจลำบากร่วมด้วย โดยในโคนมอาจพบน้ำนมลดลง 25-65%  พาหะนำโรคลัมปี สกิน โรคลัมปี สกิน มีแมลงดูดเลือดเช่น เห็บ แมลงวันดูดเลือด และยุงเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง ผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ที่เป็นโรค หรือผ่านทางรกได้ อาการของโรคลัมปี สกิน สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือก อัตราการป่วยอยู่ที่ 5-45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง มนุษย์ติดโรคลัมปี สกินจากวัวได้หรือไม่? โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดต่อในโค กระบือ แต่ไม่ติดต่อสู่คนและสัตว์ชนิดอื่น เหมือนกับโรคฝีดาษ-สุกร เกิดโรคเฉพาะในสุกร ไม่ติดต่อสู่สัตว์ชนิดอื่น และไม่ติดต่อสู่คนเช่นกัน แต่ไม่แนะนำให้กินเนื้อวัวที่ป่วยเป็นโรค ควรบริโภคเนื้อวัวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความสะอาดและปลอดภัยจากกรมปศุสัตว์เท่านั้น นอกจากนี้ การบริโภคเนื้อสัตว์จึงต้องรับประทานสุกทุกกรณี เพื่อหลีกเลี่ยงโรคบางโรคที่เกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ เช่น โรคท้องร่วง หรือ โรคหูดับ (Streptococcus suis) การป้องกันโรคลัมปี สกินในวัว กำจัดแมลงพาหะนำโรค ด้วยการใช้สารเคมีกำจัดแมลงแบบฉีด แบบราดหลัง หรือแบบฉีดพ่นสำหรับสัตว์ทุกตัวในฝูง ปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์มให้โปร่งโล่ง ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดมูลสัตว์ออกจากฟาร์มเป็นประจำหรือใช้ผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันแมลงมาวางไข่ กางมุ้งให้แก่สัตว์เพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด  ทั้งนี้ หากเกษตรกรพบโค กระบือป่วยและแสดงอาการผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-2256888 เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคเร็วที่สุด https://youtu.be/iWZ3IGL1BjM ขอขอบคุณ ข้อมูล :sanook.com, เรื่องเล่าเช้านี้ กลุ่มควบคุมป้องกันโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ภาพ :iStock

รู้จักชนิดวิตามินซีและการทานที่ถูกต้อง

เมื่อเอ่ยถึงวิตามินซี เชื่อแน่ว่าทุกคนรู้จักและทราบถึงประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการเพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรคหวัด ที่สำคัญคือช่วยเพิ่มความกระจ่างใสให้ใบหน้าและผิวพรรณ แต่ใช่ว่าทุกปัญหาสุขภาพจะทานวิตามินซีในปริมาณเดียวกันหรือรูปแบบเดียวกัน การทานวิตามินซีมีวิธีการทานที่ถูกต้องและเหมาะกับร่างกายแต่ละคน ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับ ในทางศาสตร์ชะลอวัยคนเราควรทานวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวันที่จะช่วยในเรื่องภูมิต้านทานร่างกายและการบำรุงผิวพรรณ แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหวัดหรือภูมิแพ้บ่อย ควรทานวิตามินซี 2,000 มิลลิกรัมหรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งหากอยากรู้แน่ชัดว่าร่างกายเราต้องการวิตามินเท่าไรต้องปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ข้อควรระวัง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่สูง รู้จักชนิดและรูปแบบวิตามินซี 1) แบบอัดเม็ด วิตามินซีประเภทนี้โดยทั่วมีขนาดตั้งแต่ 25 – 1,000 มิลลิกรัม แต่ขนาดยอดนิยมทั่วไปคือ 500 และ 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งหากเป็นไปได้ควรเลือกทานที่ระบุว่าเป็นแบบ Buffered, Sustained Release หรือ Slow Release เพราะตัววิตามินซีจะค่อย ๆ ปล่อยจากเม็ดยาช้า ๆ ทำให้วิตามินซีออกฤทธิ์ได้นานขึ้น อีกทั้งช่วยให้ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แต่ระดับวิตามินซีในกระแสเลือดที่ได้รับนั้นไม่แตกต่างจากรูปแบบเม็ดทั่วไปที่ปล่อยวิตามินซีแบบทันที ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง: C-Force 1000 ซี-ฟอร์ซ 1000 วิตามินซี 1 กล่อง (60 เม็ด) 2) แบบเม็ดอม มีตั้งแต่ 25 – 500 มิลลิกรัม เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบกลืนเป็นเม็ด แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า การอมวิตามินซีแบบเม็ดบ่อย ๆ กรดที่ออกมาจะทำให้เคลือบฟันบางจนฟันกร่อนได้ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง: Hicee Vitamin C Sweetlets ไฮซี วิตามินซี 500 มิลลิกรัม 15 เม็ด 3) แบบเม็ดเคี้ยว โดยปกติมีขนาด 30 มิลลิกรัม เหมาะกับเด็ก เพราะมีรสหวานชวนทาน แต่ต้องระวังไว้ว่า ด้วยน้ำตาลที่มีปริมาณสูงอาจส่งผลให้เกิดฟันผุได้เมื่อรับประทานเป็นประจำ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง: Vita-C ไวตา-ซี วิตามินซี 25 มก. 1000 เม็ด 4) แบบเม็ดฟู่ มักมาในขนาด 500 และ 1,000 มิลลิกรัม วิธีการทานที่ถูกต้องควรนำไปละลายในน้ำจนฟองหมด เพราะฟองแก๊สที่เกิดขึ้นเมื่อรับประทานเข้าไปอาจเกิดการแน่นท้องในภายหลังได้ วิตามินซีชนิดนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดขนาดใหญ่ได้ ข้อดีคือเหมาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการดูดซึม ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง: BEROCCA PERFORMANCE บีรอคคา เพอร์ฟอร์มานซ์ วิตามินและแร่ธาตุ ชนิดเม็ดฟู่ รสส้ม 1 หลอด (15 เม็ด) 5) แบบแคปซูล มีทั้งแบบแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่ม แต่ละแคปซูลมีขนาด 500 มิลลิกรัม ข้อดีคือกลืนง่ายสบายคอกว่าวิตามินซีรูปแบบอัดเม็ด 6) แบบสารละลายเพื่อฉีด ขนาดจะอยู่ที่ 500 มิลลิกรัม เป็นวิตามินซีแบบที่เหมาะกับการป้องกันหวัดที่ดีที่สุด แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีด ข้อดีก็คือ ออกฤทธิ์เร็วและร่างกายสามารถเอาวิตามินซีไปบำรุงซ่อมแซมได้ทันที เพราะไม่ต้องผ่านการย่อยจากกระเพาะอาหาร 7) แบบเยลลี่ แบบเยลลี่ออกแบบมาเพื่อให้เคี้ยวสนุก เหมาะสำหรับคนไม่ชอบทานยาแบบเม็ดหรือแพ้แคปซูลจากปลา ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง: Vita-C ไวต้า-ซี เยลลี่ผสมวิตามินซี รวมรสผลไม้ (ส้ม/แอปเปิ้ล/องุ่น) 1 ซอง 20 กรัม สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการทานวิตามินซี วิตามินซีมีจุดอิ่มตัวในการดูดซึม การดูดซึมของวิตามินซีมีจุดอิ่มตัวและขึ้นอยู่กับปริมาณในการรับประทานเข้าไป หากทานเกินจุดอิ่มตัวของการดูดซึม ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมไปใช้เพิ่มได้ จึงควรทานวิตามินซีในปริมาณที่ต่ำกว่า 1 กรัม แต่ทานหลายครั้งจะดูดซึมได้ดีกว่าทานปริมาณมากในครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น การรับประทานวิตามินซีครั้งละ 1,000 – 1,500 มิลลิกรัม มีข้อมูลระบุว่า ร่างกายดูดซึมวิตามินซีได้เพียง 50% เป็นต้น ทานวิตามินซีให้ได้คุณค่าสูงสุด ทานพร้อมอาหารมื้อเช้าและมื้อเย็น เพราะวิตามินซีจะถูกขับออกภายใน 2 – 3 ชั่วโมง ดังนั้นการรักษาระดับวิตามินซีในเลือดให้สูงเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพบรรเทาหวัด ทานวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม วันละ 2...

มาดูความต่างของ ‘เดทตอล’ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ VS น้ำยาฆ่าเชื้อโรค

โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ทำให้เราต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ รวมไปถึงการซักผ้าและทำความสะอาดบ้านต่างๆ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคเดทตอลขายดิบขายดีเป็นพิเศษ แต่ก่อนจะนำไปใช้ต้องดูให้ดี เพราะเราอาจะใช้ผิดสูตร ผิดวัตถุประสงค์ หรือผิดรูปแบบการใช้งานอยู่ก็ได้ ดูที่ภายนอกขวดอาจจะคล้ายกันจนแยกความต่างไม่ออกเลย วันนี้ HealthCarePlus จึงรวบรวมข้อแตกต่างของ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ VS น้ำยาฆ่าเชื้อโรค มาให้ดูกัน “เดทตอล (Dettol)” เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่คนนิยมนำไปใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในช่วงเวลานี้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่ายตามห้างสรรพสินค้าและร้านขายยาทั่วไป แต่จริงๆ แล้วเดทตอลมีผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท ซึ่งแตกต่างกันตรงที่คุณสมบัติการใช้งาน ‘เดทตอล’ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์(Dettol Hygiene Multi-Use Disinfectant) จุดสังเกตง่ายๆ ของ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ เดทตอล คือตรงบริเวณฉลากจะไม่มีรูปมงกุฎมีฟ้า และสีผลิตภัณฑ์จะอ่อนกว่า น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เดทตอล โดยสูตรนี้จะสามารถฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ได้ถึง 99.9% ซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคเทียบเท่ากับสูตร น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เดทตอล (Dettol Antiseptic Liquid) แต่ไม่สามารถนำไปใช้กับผิวหนังโดยตรงได้ โดยเราสามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป  สำหรับวิธีการใช้งาน เดทตอล ไฮยีน มัลติยูส ดิสอินแฟคแทนท์ ที่เหมาะสม ดังนี้ • ใช้สำหรับพื้นผิวทั่วไป ผสม 4.5 ฝา (1 ฝา = 21 มล.) ต่อน้ำ 2 ลิตร ทิ้งไว้นาน 10 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด• สำหรับการซักผ้า ให้ผสมปริมาณ 2 ฝา (1 ฝา = 21 มล.) ต่อน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 10 นาที เพื่อการฆ่าเชื้อโรค ก่อนซักตามปกติ ‘เดทตอล’ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค(Dettol Antiseptic Liquid) น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เดทตอล เป็นสินค้าที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป มีจุดสังเกตง่ายๆ อยู่ตรงที่รูปมงกุฎสีฟ้ากลางบรรจุภัณฑ์ เพราะจดทะเบียนสินค้าเป็นยา โดยมีองค์ประกอบของ สารฆ่าเชื้อ Chloroxylenol ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ 99.9% โดยสาร Chloroxylenol ทดสอบมาแล้วว่าสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการแนะนำโดย National Environment Agency ประเทศสิงคโปร์ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง: เดทตอล น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (Dettol Antiseptic Liquid) นอกจากนี้ยังเป็นมิตรต่อผิวคนเรา จึงสามารถนำไปใช้ชำระล้างบาดแผล ฆ่าเชื้อบนแผลสัตว์กัด หรือแมลงกัดต่อย ขจัดรังแค สามารถนำไปผสมน้ำอาบเพื่ออนามัยส่วนตัว รวมถึงใช้ฆ่าเชื้อโรคเครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือทางการแพทย์และการผ่าตัด ทั้งยังใช้แช่เสื้อผ้าเพื่อฆ่าเชื้อโรค เช็ดพื้น และแช่อุปกรณ์ทำความสะอาดได้ แต่ แนะนำให้ใช้กับผิวหนังภายนอกเท่านั้น!! ไม่แนะนำให้ใช้บ้วนปาก สำหรับวิธีการใช้ เดทตอล แอนตี้เซพติก ลิควิด ที่ถูกต้องนั้น ควรผสมตามอัตราส่วนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ดังต่อไปนี้ 1.ฆ่าเชื้อโรค แผลสด แมลงสัตว์กัดต่อย และเครื่องมือเครื่องใช้• ขนาด 50ml ใช้น้ำยา 2 ฝา ผสมน้ำ 240 มล.• ขนาด 100ml, 5L ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 240 มล.• ขนาดอื่นๆ ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 420 มล. 2.ผสมน้ำอาบเพื่อฆ่าเชื้อโรคใช้อัตราส่วน 1:200 3.การขจัดรังแค ซัก/แช่เสื้อผ้า• ขนาด 50ml ใช้น้ำยา 2 ฝา ผสมน้ำ 480 มล.• ขนาด 100ml, 5L ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 480 มล.• ขนาดอื่นๆ ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 840...

รู้จักแคลเซียมให้ดีกว่าเดิม

เรื่องแคลเซียมต้องรู้ 1) ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมเองได้สามารถหาแคลเซียมได้จาก 2 แหล่ง ได้แก่ อาหาร เช่น นม, กุ้งแห้ง, กะปิ, ปลาเล็กปลาน้อย, ปลาสลิด, หอยนางรม, ผักใบเขียวที่มีลักษณะแข็ง (คะน้า, ใบยอ, ใบชะพลู), งาดำ ฯลฯ ***ข้อจำกัดในบางคนที่แพ้นม (ท้องอืด, ท้องเสีย), การกินหอยนางรมและปลาทอดเสี่ยงต่อไขมันในเลือดสูง อาหารเสริม มี 3 ตระกูล ดูจาก ‘นามสกุล’ ได้แก่ – Calcium ‘Carbonate’ ดูดซึมได้ 10% ท้องอืด, ท้องผูก          – Calcium ‘Citrate’ ดูดซึมได้ 50% ต้องกินพร้อมอาหาร (ทำงานได้ต่อเมื่อมีกรดในกระเพาะเท่านั้น)          – Calcium ‘L theonate’ ดูดซึมได้ 90% กินตอนท้องว่างได้  2) ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ อายุ < 40 ปี 800 mg / วัน = นม 3 – 4 แก้ววัยทอง (~50 ปี) 1000 mg / วัน = นม 4 – 5 แก้วผู้หญิงที่ตั้งครรภ์, อายุ > 60ปี 1200 mg / วัน = นม 6 – 7 แก้วผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากถึง 30  – 40% ส่วนผู้ชาย 10%10 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน กระดูกจะบางลงเร็วมาก เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง หรือ Estrogen การเสริม Calcium จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน  3) ปัญหาของคนที่ซื้อแคลเซียมทานเอง กินแคลเซียมชนิดที่ดูดซึมไม่ดี ทำให้มีอาการท้องอืด ท้องผูกกินมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดการสะสมของหินปูนในเต้านม ไต หลอดเลือด 4) การดูดซึมขึ้นอยู่กับชนิดของแคลเซียมที่เลือกรับประทาน **ต้องเสริมวิตามินดีควบคู่ไปด้วย เพราะวิตามินดีเป็นเหมือนคู่หูของแคลเซียม ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น  **ไม่ควรกินแคลเซียมคู่กับ ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม (Tetracycline, Quinolone) ยาลดความดันบางกลุ่ม (Thiazide Diuretics, Calcium Channel Blockereg Nifedipine, Diltiazem, Verpamil)แคลเซียมจะเข้าไปยับยั้งการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ไม่ควรรับประทานแคลเซียมเกิน 1500 mg / วันปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อนเลือกรับประทาน 5) กินแคลเซียมมากเกินไป หากกินแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปจนเกิดการสะสม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หินปูนในเต้านม มะเร็งเต้านม หินปูนในหลอดเลือด และหลอดเลือดตีบตัน 6) เลือกแคลเซียมแบบที่ดูดซึมง่ายการกินแคลเซียมควรเลือกแบบที่ดูดซึมง่าย ผลข้างเคียงน้อย และต้องกินควบคู่กับวิตามินดี ปัจจัยเสี่ยงขาดแคลเซียม ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขาดแคลเซียม ได้แก่ กินแคลเซียมไม่พอไม่ออกกำลังกายดื่มกาแฟเกินขนาดดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปขาดฮอร์โมน Estrogen ก่อนวัยหมดประจำเดือน เช่น ต้องผ่าตัดรังไข่ 2 ข้างออกมีโครงร่างเล็กมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนเคยกระดูกหักมาก่อน